:
รถ พยาบาลปลอดเชื้อเบคทีเรีย ถุงมือป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นใยนาโน แผงเซลล์แสงอาทิตย์และอนุภาคทองตรวจรอยนิ้วมือ สุดยอดเทคโนโลยีเหล่านี้พบได้ในงาน นาโนไทยแลนด์ ซิมโพเซียม 2008
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ศ.นพ.สิริกฤษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึงผลงานที่เป็นไฮไลท์ของงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ นาโนไทยแลนด์ ซิมโพเซียม 2008 (Nano Thailand Symposium : NST 2008) ว่า
ผลงานที่นำมาจัดแสดง มีมากมายหลายอย่าง ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติและภาคธุรกิจเอกชน หรือ เกิดจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคการผลิตประเภทต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สิ่งทอคุณสมบัติพิเศษ - สิ่งทอกันน้ำ/สิ่งทอกันแบคทีเรีย/สิ่งทอกันไฟฟ้าสถิตศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่ง ชาติ สวทช. ได้ดำเนินการประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนหลากหลายชนิด เช่น ซิงค์ออกไซด์ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และอนุภาคเงินนาโน กับสิ่งทอเพื่อให้มีคุณสมบัติกันน้ำ กันเปื้อน และ กันไฟฟ้าสถิตย์ ทั้งนี้บางโครงการได้ขยายผลถ่ายทอดเทคโนโลยีไปแล้วในระดับอุตสาหกรรม เช่น การผลิต “ชุดนักเรียน” ปลอดเชื้อ ของบริษัทสยามชุดนักเรียน เป็นต้น
2. อนุภาคนาโนเพื่อการแพทย์สาธารณสุข - การประยุกต์ใช้อนุภาคเงินนาโนในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อในรถพยาบาลศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ร่วมกับ รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และ บริษัทซุพรีม จำกัด พัฒนาสารประกอบแต่งเรซิน ผสมอนุภาคเงินนาโน และใช้ในรถพยาบาล เพื่อให้มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจตกค้างจากการทำความสะอาดใน รถพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีคนไข้อุบัติเหตุร้ายแรง
3. การพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ราคาถูก (ด้วยเซลล์แบบย้อมสีไวแสง) - ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์โซลาร์เทค สวทช. ได้ร่วมกันพัฒนาเซลล์ย้อมสีไวแสงที่มีประสิทธิภาพเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 10.4% ในระดับห้องปฏิบัติการ
นับว่ามีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าห้อง ปฏิบัติการเซลล์แสงอาทิตย์ย้อมสีไวแสงชั้นนำของโลก (ในขณะที่เซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไปที่ใช้ทั่วไปมีประสิทธิภาพราว 5%) โดยมีเป้าหมายที่พัฒนาต่อไปให้ได้ถึง 12% ภายใน 4 ปีข้างหน้า และสามารถผลิตใช้งานได้จริงในระดับอุตสาหกรรม
4. อนุภาคนาโนสำหรับงานนิติวิทยาศาสตร์ - การประยุกต์ใช้อนุภาคทองนาโนในงานนิติวิทยาศาสตร์ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่ง ชาติ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้ร่วมกันพัฒนาอนุภาคทองในระดับนาโนซึ่งสามารถตรวจรอยนิ้วมือได้ชัดเจนยิ่ง ขึ้น แม้รอยนิ้วมือนั้นจะจางมากก็ตาม เ
ทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่าง มาก ในการพิสูจน์หลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และงานนิติวิทยาศาสตร์ ที่จะนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้อย่างรวดเร็ว
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงขอ เชิญนักวิจัย ผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ผลงานการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี และความก้าวหน้าจากประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาของไทย รวมทั้งมีการเปิดเวทีสาธารณะ (public forum) ให้ผู้สนใจเข้าฟังฟรี ตลอดการจัดงาน ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2551 นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น